แบบทดสอบรับใบอนุญาตขับขี่

 

หน้าแรก หลักสูตร สอบใบขับขี่ ติดต่อสอบถาม แผนที่

 

 

 



151. ในขณะที่ขับรถ ถ้าท่านเกิดอาการง่วงนอนควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ จอดรถและพักผ่อนก่อนออกเดินทางต่อไป
152. ข้อห้ามของผู้ขับรถมีอะไรบ้าง
ตอบ 	1. ห้ามอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถเข้าขับรถของตน
         	2. ห้ามใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่จัดทำขึ้นเอง
         	3. ห้ามให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตขับรถของตน
         	4. ห้ามใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
153. เมื่อผู้ขับขี่ต้องการจะจอดรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ 	1. ให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือสัญญาณไฟ (สัญญาณชะลอรถและยกเลี้ยว) ก่อนที่จะหยุดรถหรือจอดรถ
ในระยะไม่น้อยกว่า  30 เมตร
         	2. หยุดหรือจอดรถได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่กีดขวางการจราจร
         	3. จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และขนานกับขอบทางหรือไหล่ทางไม่เกิน 25 ซม. (เว้นแต่เป็นทางเดินรถ
ทางเดียว และเจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้จอดรถในทางเดินรถด้านขวาได้)
	4. ห้ามจอดรถในช่องทางเดินรถประจำทางในเวลาที่กำหนดให้เป็นช่องทางเดินรถประจำทาง
154. บริเวณใดห้ามจอดรถ
ตอบ 	1. บนทางเท้า
         	2. บนสะพานหรือในอุโมงค์
         	3. ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
         	4. ในทางข้าม หรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
         	5. บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอดรถ
         	6.  ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
       	7. ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
         	8. ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
         	9. จอดรถซ้อนกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว    (จอดรถซ้อนคัน)
         	10. บริเวณปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
         	11. ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะ 10 เมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
	12. ในที่คับขัน
	13. ในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง และเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
	14.  ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
	15. ในลักษณะกีดขวางการจราจร
	16. จอดรถทางด้านขวาในกรณีที่เป็นทางเดินรถสวนทางกัน
155. การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาด หรือชัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ จอดรถโดยหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง
156. ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถ หรือไหล่ทางในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่อื่นสามารถเห็นรถที่จอด
ได้ชัดเจน  ไม่น้อยกว่าระยะ 150 เมตร ผู้ขับขี่ที่จอดรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบต้องเปิดไฟส่องสว่างโดยใช้โคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ
157. บริเวณใดห้ามผู้ขับขี่หยุดรถ
ตอบ 	1.  ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
	2. บนทางเท้า
	3. บนสะพานหรืออุโมงค์
	4. ในทางร่วมทางแยก
	5. ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
	6. ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
	7. ในเขตปลอดภัย
	8. ในลักษณะกีดขวางการจราจร
158. การให้สัญญาณด้วยมือและแขนของผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ	1. เมื่อจะลดความเร็วของรถ  ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
	2.เมื่อจะหยุดรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน
 และตั้งฝ่ามือขึ้น
	3.เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้าให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่และโบกมือไปทาง
ข้างหน้าหลายครั้ง
	4.เมื่อจะเลี้ยวขวา  หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
	5.เมื่อจะเลี้ยวซ้าย หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย  ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และ
งอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง
159. ผู้ขับขี่จะต้องใช้ไฟแสงสว่าง (ไฟหน้าและไฟท้าย) เมื่อใด
ตอบ ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวาง ในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า
150 เมตร
160. การใช้เสียงสัญญาณของรถผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณอย่างไร
ตอบใช้เสียงแตรที่ได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห้ามใช้เสียงสัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียง
ที่แตกพร่า  เสียงหลายเสียง หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่อธิบดีกำหนด และให้ผู้ขับขี่ใช้เสียงสัญญาณได้เฉพาะเมื่อจำเป็น
หรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น และห้ามใช้เสียงยาว หรือซ้ำเกินควรแก่ความจำเป็น
161. การบรรทุกของผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ	1.ความกว้าง  - ได้ไม่เกินส่วนกว้างของตัวรถ
	2.ความยาว   -  ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อรถ  
		     -  ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน  2.50  เมตร
	3.ความสูง    -  กรณีรถบรรทุกให้บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร  แต่ถ้ารถมีความกว้างของรถเกินกว่า
2.30  เมตร ให้บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80  เมตร
	4.ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกัน  คน  สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่น  รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน  หรือปลิวไปจากรถ
อันอาจก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อน  รำคาญ  ทำให้สกปรกเสื่อมเสียสุขภาพอนามัย  หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนหรือทรัพย์สิน
162. กรณีที่บรรทุกของยื่นเกินกว่าความยาวของตัวรถผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอ	1. ในเวลากลางวันติดธงสีแดงเรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 ซม. ยาว 45 ซม.
	2. ในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็น
ได้ชัดเจน ในระยะ 150 เมตร
163. เมื่อผู้ขับขี่พบรถฉุกเฉินจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ 	1. หยุดรถ หรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ถ้ามีช่องทางเดินรถประจำทางให้หยุดชิดกับช่องทางเดินรถ
ประจำทาง แต่ห้ามหยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
	2. ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 150 เมตร
164. ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง (รถเสีย) ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ 	1. นำรถให้พ้นจากทางเดินรถโดยเร็วที่สุด
	2. ถ้าจำเป็นต้องจอดในทางเดินรถจะต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร และแสดงเครื่องหมายดังนี้
		2.1 ในเขตกรุงเทพฯ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลให้ใช้สัญญาณไฟกระพริบสีเหลืองอำพัน สีแดง
หรือสีขาวที่ติดอยู่ด้านหน้าและท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ( ไฟฉุกเฉิน) หรือติดตั้งป้าย  ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ
		2.2 นอกเขต 2.1 ให้แสดงเครื่องหมาย     ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ โดยห่างจากรถไม่ต่ำกว่า
50 เมตร และให้สัญญาณไฟกระพริบ (ไฟฉุกเฉิน) ในเวลาที่มองเห็นไม่ชัดเจน แสงสว่างไม่เพียงพอและจอดได้ไม่เกิน 24 
ชั่วโมง
165. การลากจูงรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ	1. การลากจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วิธียกหน้าหรือท้ายรถที่ถูกลากจูง
	2. การลากจูงรถที่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วิธีตามข้อ 1 หรือใช้สายพ่วงที่มีความยาวจากส่วนหน้าสุด
ของรถที่ถูกลากหรือจูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร
	3. ห้ามลากหรือจูงรถเกินกว่า 1 คัน
166. จากภาพรถคันใดมีสิทธิขับผ่านไปได้ก่อน   
ตอบ รถคัน ข.เนื่องจาก ขับรถอยู่ในทางเอกจึงมีสิทธิขับผ่าน
ไปได้ก่อนรถคัน ก.ซึ่งขับอยู่ในทางโท ต้องหยุดรถให้รถในทาง   
เอกขับผ่านไปก่อน

167. จากภาพผู้ขับขี่รถคัน ง.ต้องการขับรถตรงไปจะต้อง
ปฏิบัติอย่างไร
ตอบกรณีทางเอกตัดกันให้รถคัน ง.ต้องหยุดรถ และรอให้รถซึ่ง
อยู่ในทางด้านซ้ายของตน (คัน ก.)ขับผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่า
ปลอดภัยแล้วจึงขับรถผ่านทางไปด้วยความระมัดระวัง
168. จากภาพผู้ขับขี่รถคัน ก. จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ หยุดรถให้รถในทางขวางข้างหน้าขับผ่านพ้นจากทาง      
ร่วมทางแยกไปได้ แต่ถ้าบริเวณรถคัน ข. เป็นที่ว่างที่สามารถ
ขับผ่านไปได้ รถคัน ก.มีสิทธิขับผ่านไปได้ก่อน เนื่องจากเป็น
ทางเอก ทางในทางขวางเป็นทางโท เนื่องจากมีเส้นหยุด 
(เส้นทึบ)ขวางถนนอยู่ 
169. จากภาพผู้ขับขี่รถคัน ก. ได้รับสัญญาณไฟเขียว
จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ รอจนกว่ารถคันหน้าจะเคลื่อนตัวไปจนมีที่ว่างพอที่จะจอด
ต่อท้ายได้ ถึงจะขับรถผ่านทางร่วมทางแยกไปได

 

170. รถคันใดมีสิทธิใช้ทางได้ก่อน
ตอบ รถคัน ข.เพราะกรณีทางแยกที่เป็นทางเอกตัดกัน ผู้ขับขี่
ที่มาถึงพร้อมกัน ต้องยอมให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนขับผ่าน
ไปก่อน
 
171. รถคันใดมีสิทธิใช้ทางได้ก่อน
ตอบ รถคัน ก. เนื่องจากอยู่ในทางเอก                                 





 
172. ผู้ขับขี่รถคัน ก.ซึ่งอยู่ในทางโท จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ หยุดเพื่อให้รถคัน ข.และ ค.ขับตรงผ่านไปก่อน






173. ภาพดังกล่าวผู้ขับขี่รถคัน ก.หยุดรถได้ถูกต้อง
หรือไม่
ตอบ  ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเขตดังกล่าวเป็นเขตห้ามหยุด และ
จะก่อให้เกิดการกีดขวางการจราจรแก่รถคันอื่น


174. จากภาพเครื่องหมายแบ่งช่องการจราจรบนพื้นทาง
หมายถึง
ตอบ ให้รถที่ขับในทางด้านซ้ายของภาพห้ามแซงห้ามเลี้ยว
รถผ่านหรือคร่อมเส้นแบ่งช่องทางการจราจรโดยเด็ดขาด
ส่วนรถที่ขับทางด้านขวาสามารถขับแซง ขับผ่าน เลี้ยวรถ
ขับคร่อมเส้นแบ่งช่องการจราจร หรือขับผ่าน หรือทับเส้น
กรณีเลี้ยวกลับรถ หรือแซงรถคันอื่นได้

 

175. รถคันใดมีสิทธิใช้ทางได้ก่อน
ตอบ รถคัน ก.เป็นรถที่อยู่ในทางเอก มีสิทธิใช้ทางได้ก่อน
 เนื่องจากช่องทางของรถคัน ข.มีเส้นประขวางถนนอยู่ ซึ่งเส้น  
ดังกล่าว หมายถึง เส้นให้ทาง ผู้ขับรถต้องหยุดรถให้รถในทาง
ข้างหน้าขับผ่านไปก่อน