แบบทดสอบรับใบอนุญาตขับขี่
หน้าแรก หลักสูตร สอบใบขับขี่ ติดต่อสอบถาม แผนที่

 

 

 

 

126. เครื่องหมาย หมายความว่าอย่า งไร
ตอบ "ทึบคู่กับเส้นประสีเหลือง"  ให้ผู้ขับรถปฏิบัติตามความหมายของเส้นที่อยู่ข้างซ้าย (เฉพาะบนทางหลวง)
127. เครื่องหมาย  หมายความว่าอย่างไร
ตอบ "ทึบสีขาว"  ห้ามมิให้ผู้ใดขับรถคร่อมเส้นหรือเปลี่ยนช่องจราจร
128. เครื่องหมาย  หมายความว่าอย่างไร
ตอบ "ประสีขาว"  ห้ามมิให้ผู้ใดขับรถคร่อมเส้น แต่สามารถเปลี่ยนช่องจราจรได้
129. เครื่องหมาย  หมายความว่าอย่างไร
ตอบ "เส้นทางข้าม"  เส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 75 ซม. ยาวอย่างต่ำ 250 ซม. วางขนานกับแนวถนนห่างกัน 50 ซม. 
และมีเส้นแนวหยุด  หรือเส้นให้ทางก่อนถึงเส้นทางข้ามอย่างน้อย 50 ซม. ผู้ขับรถทุกชนิดจะต้องขับรถให้ช้าลง และพร้อม
ที่จะหยุดรถได้ทันท่วงที เมื่อมีคนเดินข้ามถนน ณ ทางข้ามนั้น  ในเขตทางข้ามถนนที่ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือเครื่องหมายสัญญาณ
ควบคุม ให้ผู้เดินข้ามถนนมีสิทธิไปก่อน   ฉะนั้นในขณะที่มีคนกำลังเดินอยู่ในทางข้ามถนน ให้ผู้ขับรถหยุดรถก่อนถึงเส้นแนวหยุด
หรือเส้นให้ทาง และเมื่อคนเดินข้ามถนนได้ข้ามไปโดยปลอดภัยแล้วจึงจะเคลื่อนรถต่อไปได้
            ทางข้ามที่มีเจ้าหน้าที่หรือสัญญาณควบคุม คนเดินเท้ามีสิทธิที่จะเดินข้ามทางได้โดยรถต่างๆ ต้องหยุดให้ในขณะ
ที่มีสัญญาณห้ามรถด้านนั้น
             เมื่อรถข้างหน้าได้หยุดเพื่อให้ผู้เดินเท้าข้ามถนนตรงทางข้าม ให้ผู้ขับรถที่ตามมาข้างหลังหยุดรถต่อกันไปตาม
ลำดับ ห้ามมิให้รถแซงรถที่หยุดคอยข้างหน้า
             ห้ามมิให้หยุดหรือจอดรถทุกชนิดตรงเขตทางข้ามถนนไม่ว่าในกรณีใดๆ ถ้ามีสัญญาณให้รถหยุดหรือการจราจร
ข้างหน้าติดขัดรถทุกคันจะต้องหยุดก่อนถึงแนวเส้นให้ทาง ห้ามมิให้หยุดล้ำเข้าไปในเขตทางข้ามถนน
130. เครื่องหมาย  หมายความว่าอย่างไร
ตอบ "ทางม้าลาย"  ให้ผู้ขับรถขับรถให้ช้าลง และพร้อมที่จะหยุดรถได้ทันท่วงทีเมื่อมีคนเดินข้ามทาง ณ ทางข้ามนั้น การ
หยุดรถจะต้องไม่ให้ล้ำเข้าไปในเขตทางคนข้าม เมื่อคนเดินข้ามทางโดยปลอดภัยแล้ว จึงจะเคลื่อนรถต่อไปได้
131. เครื่องหมาย   หมายความว่าอย่างไร
ตอบ "เส้นห้ามหยุดหรือจอดรถ"  ห้ามมิให้หยุดรถหรือจอดรถทุกชนิดตรงแนวนั้นเป็นอันขาด เป็นเส้นสีขาวสลับแดง 
มีขนาดยาว 50 ซม.  แสดงที่ขอบทางของวงเวียน และที่อื่น ๆ
132. เครื่องหมาย   หมายความว่าอย่างไร
ตอบ "เส้นห้ามจอดเว้นแต่หยุดรับ-ส่งชั่วขณะ"  ห้ามมิให้จอดรถทุกชนิดระหว่างแนวนี้ เว้นแต่การหยุดรับ-ส่งคน หรือ
สิ่งของชั่วขณะซึ่งต้องกระทำโดยมิชักช้า เป็นเส้นสีขาวสลับสีเหลือง ขนาดยาว 50 ซม. แสดงที่ขอบทางของวงเวียนและที่อื่น ๆ
133. เครื่องหมาย  หมายความว่าอย่างไร
ตอบ "เส้นทแยงห้ามหยุดรถ"  ห้ามหยุดรถทุกชนิดภายในกรอบเส้นทแยงสำหรับทางแยก ยกเว้นรถที่หยุดรถเพื่อเลี้ยวขวา
ตรงทางแยกเป็นเส้นทึบสีเหลือง ขนาดกว้าง 15 ซม. ลากทแยงตัดกันทำมุม 45 องศา ห่างกัน 200 ซม. ภายในกรอบเส้นทึบ
สีเหลือง ขนาดกว้าง 20 ซม.
134. ข้อความ "หยุด" บนผิวทางจราจร หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ให้ผู้ขับรถในช่องจราจรนั้นปฏิบัติตามความหมายเช่นเดียวกับป้าย "หยุด"
135. รถลักษณะใดที่ห้ามนำมาใช้ในทาง
ตอบ	1. รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือเสื่อมเสีย
สุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสาร หรือประชาชน เช่น รถที่มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุด รถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด รถที่มีเสียง
ดังเกิน 85 เดซิเบล เอ  รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า
	2. รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี หรือเครื่องหมาย
อื่น ๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถกำหนด
        	3. รถที่มีเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
        	4. รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงครามหรือรถที่ใช้ในราชการตำรวจ
        	5. รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
        	6. รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน ( แถวด้านหน้าห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคนขับด้วย )
        	7. รถที่ไม่ได้เสียภาษีประจำปี
        	8. รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง
136. ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ	1. ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถหรือเส้น หรือแนวที่แบ่งทางเดินรถ
เป็นหลัก
       	2. ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละผฝ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย
        	3. ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบทางด้านซ้าย
เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน
        	4. กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่สวนทางขับผ่านมาก่อน
137. การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้ และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถ
ที่สวนมา  หากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่สวนทางรถขับผ่านมาก่อน
138. ในการขับรถผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย และต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่กรณีใดที่ผู้ขับขี่สามารถ
ขับล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถหรือขับเข้าไปในทางเดินรถด้านขวาได้
ตอบ 	1. ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร
         	2. ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
         	3. ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร
139. กรณีที่มีช่องทางเดินรถตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป ผู้ขับขี่รถชนิดใดต้องขับรถชิดทางด้านซ้ายที่สุด
ตอบ 	1. ผู้ขับขี่รถที่มีความเร็วช้า หรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ที่ขับในทิศทางเดียวกัน
         	2. ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์   ยกเว้น กรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางให้ขับรถ
ในช่องทางเดินรถด้านซ้ายสุดที่ติดกับช่องทางเดินรถประจำทาง
140. เมื่อผู้ขับขี่รถลงจากทางลาดชันหรือภูเขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ	1. ห้ามใช้เกียร์ว่าง
         	2. ห้ามเหยียบคลัทช์
         	3. ห้ามใช้เบรคตลอดเวลา
         	4. ห้ามดับเครื่องยนต์
         	5. ใช้เกียร์ต่ำ
         	6. ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย
         	7. ให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่อาจสวนทางมา
141. ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใด
ตอบ ห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย
142. การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่เป็นทางเอกตัดกันและไม่ปรากฏสัญญาณ หรือเครื่องหมายจราจรผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติ
อย่างไร
ตอ1. ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้น ขับผ่านไปก่อน
      	2. ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยก และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของคนขับ
ผ่านไปก่อน
143. ข้อกำหนดความเร็วของรถในกรณีปกติ มีการกำหนดอย่างไร
ตอบ  	1. ในเขตกรุงเทพฯ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.
      	2. นอกเขตตามข้อ 1 ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม.
144. ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด
ตอบ	1. ใบอนุญาตขับรถ
	2. สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ
145. การใช้ไฟสัญญาณและสัญญาณมือของผู้ขับขี่ กรณีที่ต้องการจะเลี้ยวรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ	1. สัญญาณไฟให้สัญญาณไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและหลังในทิศทางที่จะเลี้ยว
         	2. สัญญาณมือ   	-  เลี้ยวขวาให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอไหล่
			-   เลี้ยวซ้ายให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอไหล่ และงอมือชูขึ้นโบกไปทาง
ซ้ายหลายครั้ง
         	3. การให้สัญญาณตามข้อ 1 และ 2 ต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้ผู้ขับขี่
ซึ่งขับรถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
146. เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย "เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด" ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ให้ผู้ขับขี่หยุดให้ทางแก่รถที่กำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านขวาและให้ทางแก่รถที่เลี้ยวขวาก่อนจึงจะเลี้ยวซ้ายผ่านไปได้
147. ในการเลี้ยวรถผู้ขับขี่จะต้องขับรถในช่องทางเดินรถที่ต้องการจะเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่ากี่เมตร
ตอบ 30 เมตร
148. บริเวณใดห้ามกลับรถ
ตอบ 	1. ในทางเดินรถที่สวนทางกันได้ห้ามกลับรถในขณะที่มีรถอื่นสวนทางมา หรือตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร
         	2. ในเขตปลอดภัยหรือที่คับขัน
         	3. บนสะพานหรือในระยะ 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
         	4. บริเวณทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้กลับรถได้
         	5. บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ
149. บริเวณใดห้ามแซง
ตอบ 	1. ห้ามแซงด้านซ้าย  เว้นแต่	- รถที่ถูกแซงกำลังเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณจะเลี้ยวขวา
                                    	- ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่องทางเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป
         	2. ห้ามแซงเมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ใกล้ทางโค้ง เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
         	3. ห้ามแซงภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้หรือทางเดินรถ
ที่ตัดข้ามทางรถไฟ
         	4. ห้ามแซงเมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควัน จะทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร
         	5. ห้ามแซงเมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
         	6. ห้ามแซงล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง
         	7. ห้ามแซงในบริเวณที่มีเส้นแบ่งช่องการเดินรถเป็นเส้นทึบ
150. ห้ามผู้ขับขี่ขับรถในกรณีใด
ตอบ 	1. ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ เช่นภายหลังจากรับประทานยาแก้ไข้หวัดในขณะง่วงนอน
         	2. ในขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
         	3. ในลักษณะกีดขวางการจราจร
         	4. โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน
         	5. ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าห รือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่ง
หรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
         	6. คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
         	7. บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วย หรือคนพิการ
         	8. โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
         	9. ในขณะที่เสพ หรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือ
วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่น
         	10. ขับรถโดยที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ
         	11. ขับรถบนไหล่ทาง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร
         	12. ใช้ไฟฉุกเฉินขณะขับรถตรงไปเพื่อผ่านทางร่วมทางแยก
         	13. ขับรถแข่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร